wreck diving ไม่ได้หมายถึงเรือจมเพียงอย่างเดียวนะครับ
wreck dive หมายถึงซากทุกขนิดที่ถูกจม หรือจมเองไม่ว่าจะชำรุด หรืออุบัติเหตุก็ตาม อาจจะเป็นเครื่องบิน ซากแห อวนชาวประมง ตู้เย็น ตู้คอนเทนเนอร์ รถถัง เรือดำน้ำ ซาเล้ง รถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ รถบรรทุก แต่การจม wreck ที่มนุษย์สร้างขึ้น ต้องมีการวางแผน และทำความสะอาดสารเคมีให้หมดเสียก่อนจะนำไปทำเป็น wreck ครับ เพื่อจะได้เป็นปะการังเทียมให้สัตว์ทะเลได้มาอยู่อาศัยต่อไป
สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนดำ wreck diving หรือการดำสำรวจซากเรือจม
ฟังบริฟของ wreck หรือซากเรือจม จากผู้เชี่ยวชาญ
สิ่งที่สำคัญที่สุดของการดำเรือจม คือการวางแผน และรู้ทิศทางในการดำน้ำ กระแสน้ำ จุดขึ้นลง สัตว์ที่จะพบเจอ และข้อห้าม ในการดำน้ำสำรวจเรือจม สิ่งเหล่านี้นักดำน้ำควรต้องทราบก่อนลงดำน้ำทุกครั้ง
กรณีพลัดหลงต้องทำอย่างไร
ปกติแล้วการพลัดหลง เนื่องจากน้ำขุ่น หรือกระแสน้ำรุนแรงบริเวณซากเรือจมเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ก็ให้ค่อย ๆ ขึ้นช้า ตามที่ได้เรียนมา อย่าแซงฟองอากาศของตนเอง ถ้าอากาศเหลือน้อยให้แชร์อากาศกับบัดดี้ แต่ถ้าหลงกับบัดดี้ เหลือเราคนเดียว ก็ขึ้นช้า ๆ ถ้ามีไดฟ์คอมพิวเตอร์ ก็สังเกตดี ๆ ว่ามีการร้องเตือนว่าขึ้นเร็วไปหรือไม่ และถ้าขึ้นไปที่ 5 เมตรแล้ว ก็ให้ทำ safety stop เพื่อปล่อย nitrogen ที่สะสมในร่างกายด้วย เป็นเวลา 3 นาที
สัญญาณมือ ถาม NDL TIME
NDL TIME คือ เวลาในการดำน้ำที่นักดำน้ำเหลืออยู่ที่ความลึกนั้น ๆ โดย นักดำน้ำสามารถดูเวลานี้ได้จาก ไดฟ์คอมพิวเตอร์ ที่ข้อมือของตนเอง แต่จะมากน้อยก็ขึ้นกับว่าใช้อากาศแบบไหน เป็นอากาศปกติ หรือ Nitrox ที่เพิ่มออกซิเจนมากขึ้น และตามที่ได้เรียนมาแล้วว่า ยิ่งดำลึกไปมากเท่าไร ร่างกายก็จะสะสมไนโตรเจนมากขึ้นเท่านั้น เรือจม หรือซากส่วนใหญ่จะมีความลึกอยู่ที่ 20-30 เมตร ถ้าคำนวณแล้ว นักดำน้ำก็จะได้ ไนโตรเจนเพิ่มขึ้นประมาณ 3-4 เท่าเทียบจากผิวน้ำ เพราะอากาศ 1 คำ ที่เราหายใจกันเข้าไป ก็มีไนโตรเจน กับออกซิเจนอยู่แล้ว เมื่อเจอแรงดันใต้น้ำเข้าไปอีก อากาศคำเดียวที่เราหายใจ ก็จะได้แก๊สต่าง ๆ ที่อยู่ในอากาศเพิ่มมากขึ้นไปด้วยครับ ดังนั้น ยิ่งอยู่ลึกอยู่นาน ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคน้ำหนีบ หรือ Decompression Sickness / DCI ด้วยนั่นเอง
การจัดการอากาศ
ยิ่งดำลงลึกเท่าไร ก็ยิ่งใช้อากาศมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นนักดำน้ำ จึงควรฝึกรุปแบบการหายใจด้วยกระบังลมให้ชิน เพื่อหายใจได้ลึก ทั่วถึง และช่วยการลอยตัว ฝึกให้จิตใจสงบด้วยครับ และที่สำคัญใช้อากาศได้เพียงพอต่อการดำน้ำลึก สำรวจซากเรือจม
สิ่งที่ต้องระวังก่อนดำ และหลังดำ wreck dive
nitrogen narcosis เมาแค่ไหน ที่ยังไหว
สิ่งที่เป็นอันตรายต่อนักดำน้ำเมื่อดำลึกเกิน 18 เมตรคือ อาการของการเมาไนโตรเจน ที่เรียกว่า nitrogen narcosis
ดำเกิน MOD : Maximum Operating Depth ในกรณีใช้ nitrox
หากใช้อากาศที่มีอัตราส่วนของ ออกซิเจน มากขึ้นแล้ว หรือ EANx หรือ Nitrox ก็ควรระวังในเรื่องของการดำลึกเกินระยะปลอดภัย เพราะออกซิเจนที่มีความเข้มข้นสูงเมื่อดำลึกเกินจะเกิดความเป็นพิษต่อร่างกายอย่างร้ายแรงได้
การบาดเจ็บ
เรือ หรือซากต่าง ๆ ที่จมมานาน อาจจะมีปะการัง หรือสัตว์ทะเลพวกเพรียง หอย หรือสัตว์มีพิษ เช่น ปลาหิน ปลาสิงโต ไปทำรังอยู่ ดังนั้นหากนักดำน้ำไม่ระมัดระวัง อาจบาดเจ็บจากพิษของสัตว์เหล่านี้ได้ ดังนั้นจึงควรดำน้ำด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง รักษาการลอยตัวไว้ให้เป็นกลางเสมอ เพราะพื้นทรายที่เห็นเรียบ ๆ ก็อาจจะมีสัตว์ที่มีพิษซ่อนเร้นอยู่ได้เช่นกัน
การมุดเข้า wreck
การมุดเข้าเรือจม หรือซากต่าง ๆ จำเป็นต้องได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษ หรือมีประสบการณ์เป็นพิเศษ การเรียนแค่ Advance Adventurer นั้นไม่ได้รับอนุญาตให้มุดเข้าช่องต่าง ๆ ภายในเรือจม แต่ให้สำรวจรอบ ๆ ที่ความลึกที่มากกว่า 18 – 30 เมตรเท่านั้น เพราะการมุดเข้าเรือจม หรือซากใต้น้ำ มีความอันตรายเป็นอย่างยิ่ง จากการสับสน หาทางออกไม่ได้ หรีอบาดเจ็บจากการถูกของมีคมภายในตัวเรือ หรือซากบาด หรือถูกสัตว์ทำร้าย
ถ้าหากไม่มีการวางแผนอย่างดี และเรียนมาอย่างถูกต้อง เราไม่แนะนำให้นักดำน้ำทุกท่าน มุดเข้าไปในเรือจมเป็นอันขาดครับ